บริจาค

เห็นว่า..บล็อกนี้ดี มีประโยชน์... โปรดสนับสนุนผู้ทำบล็อกได้ที่ พร้อมเพย์ 083-4616989
หรือบัญชี 002-1-70462-8 กสิกรไทย สาขาบางลำภู

นิพพาน ภพ 3 โลกันต์

หลวงปู่ชั้ว ท่านเขียนเรื่องนิพพาน ภพ 3 โลกันต์ ไว้ดังนี้

นิพพาน ภพสาม โลกันต์ มีอยู่ในกายมนุษย์ กายทั้งหมดทุกภพมีขันธ์ ๕ ทั้งนั้น แม้ชั้นอรูปพรหมก็มีขันธ์ ๕ เหมือนกัน ต่างแต่ขันธ์ ๕ ของชั้นนี้ละเอียดยิ่งนัก

ส่วนนรกก็ดี สัตว์โลกันต์ก็ดี ล้วนแต่มีขันธ์ ๕ ทั้งนั้น

ตรงนี้ขอพาดพิงไปยังคำสอนของพระปริยัติธรรมหรือผู้ปฏิบัติธรรมสายอื่นๆ ที่ชอบบอกว่า อรูปพรหมมีแค่ขันธ์ 4 

ดูความหมายของอรูปพรหมจาก วิกิพีเดีย ดังนี้

อรูปพรหม หรือ อรูปาวจรภูมิ สมัยที่โลกยังว่างจากพระพุทธศาสนา บรรดาโยคี ฤๅษี ชีไพรดาบส ที่บำเพ็ญตบะเดชะภาวนา รำพึงว่าอันว่าตัวตน กล่าวคืออัตภาพร่างกายนี้ไม่ดีเป็นนักหนา กอปรไปด้วย ทุกข์โทษหาประมาณมิได้

ควรที่ตูจะปรารถนากระทำตัว ให้หายไปเสียเถิด แล้วก็เกิดความพอใจเป็นนักหนา ในภาวะที่ไม่มีตัวตนไม่มีรูปกาย ปรารถนาอยู่แต่ในความไม่มีรูป

พวกนี้จึงสอนว่า อรูปพรหมไม่มีกาย มีแต่ใจ  บางกลุ่มก็อธิบายไปว่า “อ” แปลว่า “ไม่” ดังนั้น อรูปพรหมจึงไม่มีรูป มีแต่ใจ 

คำอธิบายดังกล่าวเป็นคำอธิบายที่มั่วมาก เพราะ ในเมื่อภพ 3 ทั้งหมด มีขันธ์ 5 ครบ แล้วทำไมอรูปพรหม ทั้งมีขันธ์ 5 ไม่ครบ 

ถ้าเป็นเช่นนั้นจริง ต้องมีคำอธิบายที่มีหลักฐานและยอมรับได้ในทางวิชาการมากกว่านี้  สำหรับวิชาธรรมกาย  อรูปพรหมมีกาย  แต่กายละเอียดมากขึ้น

จากการอ่านความหมายจากวิกิพีเดียนั้น ความเชื่อเรื่องอรูปพรหมไม่มีกายนั้น ก็มาจากศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ไม่ใช่ศาสนาพุทธเสียด้วย

แม้พระนิพพานก็มีขันธ์ ๕ แต่ว่าขันธ์ ๕ ของพระนิพพานนั้นท่านเรียกต่างออกไปอย่างนี้

๑) ขันธโลกในกายพระนิพพานนั้น เรียกว่า ธรรมขันธ์ แทนขันธ์ ๕
๒) สัตว์โลกในกายพระนิพพานนั้น ท่านเรียกว่า อริยสัจ แทนเรียกว่าสัตว์โลก
๓) อากาศโลกในกายพระนิพพานนั้น ท่านเรียกว่า ธรรมธาตุ แทนอากาศธาตุ คือ ธาตุ ๖ นั้นเอง เป็นอากาศธาตุ แต่ละเอียดสุขุมเย็นสนิทยิ่งนัก

นิพพานในศูนย์กำเนิดกลางกายมนุษย์เข้าไปเรียกว่า นิพพานเป็น หรือ สอุปาทิเสสนิพพาน อยู่ในกายมนุษย์

ตรงนี้ขออธิบายเพิ่มเติมว่า คำว่า “นิพพานเป็น” ในวิชาธรรมกายมี 2 ความหมาย  ความหมายแรกก็คือ นิพพานที่อยู่ที่ฐานที่ 7 ในท้องของเรา

กายธรรมต่างๆ นั้น อยู่ที่ไหนไม่ได้เด็ดขาด ต้องอยู่ในอายตนะนิพพาน เพราะ กายต้องมีภพรองรับ กายจะอยู่ลอย โดยไม่มีภพไม่ได้

เมื่อมีกายธรรมอยู่ในท้องของเรา ดังนั้น ก็ต้องมีภพ คือ อายตนะนิพพานในท้องของเราด้วย  พูดให้ชัดๆ ก็คือ อยู่ตรงฐานที่ 7 เหนือระดับสะดือ 2 นิ้วมือของใครของมัน

นิพพานเป็นความหมายที่ 2 ก็คือ พระพุทธเจ้าที่เข้านิพพานทั้งกายเนื้อ ไม่ต้องปรินิพพานก่อน  นิพพานเป็นนั้น รูปร่างเหมือนพระหนุ่มๆ ไม่ใช่กายธรรม

ส่วนนิพพานที่อยู่ข้างบน เหนือภพสามขึ้นไป ๓ เท่าของภพสามนั้น เป็นที่เสด็จอยู่ของพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระอรหันต์ขีณาสพทั้งหลายที่นิพพานไปแล้วนั้น ท่านเรียกว่า อายตนนิพพาน หรือ อนุปาทิเสสนิพพาน

เป็นนิพพานที่มีศูนย์ตรงกันกับศูนย์นิพพานเป็น หรือที่เรียกว่า สอุปาทิเสสนิพพานที่อยู่ในกายมนุษย์ เมื่อธาตุธรรมเดินฌานสมาบัติตกสูญนิพพานเป็นแล้ว ก็เป็นอันเข้าสู่ศูนย์อายตนนิพพานด้วย

อายตนนิพพานเบื้องบนนั้น ก็ดึงดูดธาตุธรรมขึ้นไปสู่อายตนนิพพาน ไม่ผิดอะไรกับกายทิพย์เมื่อจะตั้งปฏิสนธิในครรภ์มารดา

ถ้าตกสูญแล้ว ศูนย์กำเนิดเดิมซึ่งตั้งอยู่ขั้วมดลูกของมารดา ก็ดึงดูดกายทิพย์เข้าไปตั้งอยู่กลางกำเนิดมดลูกฉะนั้น

ก็เหมือนกับอนุปาทิเสสนิพพานที่อยู่เหนือขอบภพสามขึ้นไป ๓ เท่า นั้น ดึงดูด สอุปาทิเสสนิพพานที่อยู่ในกายมนุษย์ขึ้นไปติดอยู่ในอายตนนิพพาน เพราะมีอายตนะด้วยกัน

สอุปาทิเสสนิพพานก็มีอายตนะ อนุปาทิเสสนิพพานก็มีอายตนะ เมื่อธาตุธรรมเดินสมาบัติตกสูญตรงกันเข้าก็ดึงดูดเข้าไปติดกัน เหมือนอายตนะในตากับอายตนะในรูป เมื่อตกสูญตรงกันเข้าก็ดึงดูดเข้าไปหากันฉะนั้น

จะเห็นว่า คำอธิบายของหลวงปู่ชั้วนั้น สมเหตุสมผลในตัวเอง คือ นิพพานเป็นในท้องของเรา ศูนย์ตรงกับอายตนะนิพพาน  เมื่อเราตกสูญเห็นกายธรรมพระอรหัต เราก็ถูกศูนย์อายตนะนิพพานดูดไปเข้าอายตนะนิพพาน

ตรงนี้ ถ้าจะอธิบายแบบวิทยาศาสตร์หน่อยก็คือ  ฐานที่ 7 เป็นรูหนอน (Wormhole) ที่พาเราไปอายตนะนิพพานได้ ทำนองนั้น


แต่ส่วนนิพพาน ที่ท่านกล่าวไว้ในพระบาลีนั้น ทำไมเหมือนกับปิดๆ บังๆ อมอำอยู่ชอบกล ข้าพเจ้า ได้คัดลอกมาจากคำแปล แต่ไม่ได้เขียนตัวบาลีไว้ด้วย เพราะข้าพเจ้าแปลไม่เป็น จึงเอาแต่คำแปลมาลงไว้เท่านั้น ท่านกล่าวไว้ ๓ ข้อ

ข้อ ๑. กล่าวว่า “ภิกษุทั้งหลาย ! อายตนะนั้น มีอยู่, ที่ดิน น้ำ ลม ไฟ ไม่มีแล, อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ ก็มิใช่, โลกนี้ก็มิใช่ โลกอื่นก็มิใช่ ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ทั้งสองก็มิใช่,

อนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย ! เราไม่กล่าวเลยซึ่งอายตนะนั้นว่า เป็นการมา เป็นการไป เป็นการตั้งอยู่ เป็นการจุติ เป็นการเกิด, อายตนะนั้นหาที่ตั้งมิได้ มิได้เป็นไป หาอารมณ์มิได้ นั่นแลที่สุดแห่งทุกข์

นี่จะเอาความอย่างไร ท่านไม่ได้เอาของในนิพพานมากล่าวเลย ในนิพพานมีกล่าวแต่อายตนะเท่านั้น ท่านกล่าวก็ไม่ผิด เพราะดิน น้ำ ลม ไฟ ไม่มีในนิพพาน, อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ ก็ไม่มีในนิพพาน มีอยู่แต่ในอรูปภพเท่านั้น,

โลกนี้ โลกอื่น ก็ไม่มีในนิพพาน มีอยู่แต่ในมนุษย์โลก เทวโลก พรหมโลก มารโลก, ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ทั้งสองก็ไม่มีในนิพพาน มีอยู่แต่สำหรับโลกมนุษย์เท่านั้น, ของที่กล่าวไว้นี้ไม่มีในนิพพานเลย แล้วใครจะรู้ว่านิพพานอยู่ไหน

ข้อ ๒. นั้นว่า “ธรรมนี้เป็นสภาพลึก เห็นได้ยาก ตรัสรู้ได้ยาก เป็นธรรมสงบ ประณีต คิดเดาไม่ได้ ละเอียด เป็นวิสัยที่บัณฑิตพึงรู้

นี้ก็เทียบๆ นิพพานไปแล้ว แต่ถ้าคนไม่รู้เรื่องในนิพพานแล้ว เอาความไม่ได้เลย

ข้อ ๓. นั้นว่า “ธรรมชาตินั้นสงบแล้ว ธรรมชาตินั้นประณีต ธรรมชาติไรเล่าเป็นที่สงบแห่งสังขารทั้งปวง เป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นตัณหา เป็นที่สิ้นราคะ เป็นที่ดับ คือนิพพาน

นี่ท่าน กล่าวแต่เพียงธรรมชาติในนิพพานเท่านั้น แต่ตำแหน่งที่อยู่ของนิพพานท่านไม่กล่าวว่าอยู่ที่ไหน จึงเอาความยาก

ครั้นจะว่าให้มากไป ข้าพเจ้าก็กลัวว่าจะเป็นการตู่พระพุทธวัจนะ เพราะเป็นของในบาลี ข้าพเจ้าก็กลัวบาปอยู่เหมือนกัน

แต่ส่วนในนิพพานอย่างที่พวกมีธรรมกายไปพบไปเห็นมานั้น ล้วนแต่สมบัติวิเศษเป็นแก้วทั้งนั้น กายพระพุทธเจ้าเองก็ใสเป็นแก้ว แล้วสิ่งอื่นๆ ก็ล้วนแก้ววิเศษทั้งนั้น

เช่น แก้วจุลจักรพรรดิ แก้วมหาจักรพรรดิ แก้วบรมจักรพรรดิ ที่มนุษย์ผู้มีบุญวาสนาได้มาใช้กันนั้น ก็ต้องส่งมาจากนิพพาน, หรือแก้วทิพยจุลจักรพรรดิ แก้วทิพยมหาจักรพรรดิ แก้วทิพยบรมจักรพรรดิ ที่พวกเทวดา พรหม ที่มีบุญวาสนายิ่งใหญ่ใช้กัน ก็ล้วนแต่ส่งมาจากนิพพานทั้งนั้น,

ยังแก้วพุทธจุลจักรพรรดิ แก้วพุทธมหาจักรพรรดิ แก้วพุทธบรมจักรพรรดิ ที่ใช้กันอยู่ในนิพพานนั้น แต่ละอย่างๆ มีมากมายนับอสงไขยไม่ถ้วน ล้วนแต่เป็นแก้วกายสิทธิ์วิเศษทั้งนั้น ทำไมท่านจึงไม่กล่าวไว้ในบาลี

แต่ว่าเมื่อพระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่นั้น คงจะตรัสเทศนาไว้หมดทุกอย่าง แต่ในคัมภีร์เก่าๆ มีกล่าวอยู่บ้าง เช่นที่ว่า “เป็นพระอรหัตตัดกิเลสเป็นสมุจเฉทปหาน เข้าถึงเมืองแก้ว กล่าวแล้วคือนิพพาน” เดี๋ยวนี้ไม่ค่อยมีกล่าวถึงนิพพาน หมดเข้าไป เสื่อมเข้าไปอย่างที่เห็น ๆ

เดี๋ยวนี้พระศาสนาก็ล่วงเลยมาสอง พันกว่าปีแล้ว น่ากลัวพระพุทธวัจนะจะคลาดเคลื่อนไปมาก จนไม่มีใครรู้เรื่องนิพพานเสียเลย

ลงเห็นว่า นิพพานไม่มีแล้ว ภาคดำเขาก็คอยสอดญาณละเอียดเข้าในเห็น จำ คิด รู้ ของพวกอรรถกถาจารย์ ให้แต่งแก้พระพุทธวัจนะ ให้เลอะเลือนคลาดเคลื่อนอยู่เสมอ

เพราะนิพพานเป็นจุดสำคัญ พระพุทธเจ้าพระอรหันต์จึงปรารถนามุ่งหมายนัก ภาคดำเข้าก็หวงแหน ปิดบังอย่างสุดขีด


เพราะว่า ถ้าสัตว์ยังเวียนว่ายอยู่ในภพสามตราบใด ภาคดำเขาก็ต้มเล่นอย่างสนุก ถ้าถึงนิพพานเสียแล้วมันก็ไม่กลัวกัน ฉะนั้น เขาจึงขัดขวางจนสุดฤทธิ์



4 ความคิดเห็น:

  1. อสัญญีพรหม (พรหมลูกฝัก) ก็มีขันธุ์ 5 เหมือนกันใช่ไหมครับ

    ผมล่ะงงกับประโยคที่ว่า "สัตว์บางประเภท มีขันธุ์ 5 ขันธุ์ มีขันธุ์ 4 ขันธุ์ ... มีขันธุ์ๆเดียว" มาจากไหน คงไม่ใช่พุทธพจน์แน่นอน แต่ผมก็ไม่คิดว่าจะมาจากพุทธวิชาการนะครับ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ไมว่าจะเป็นใครอยู่ที่ไหนก็ต้องมีขันธ์ 5 ทั้งนั้น อรูปพรหมก็มีขันธ์ 5

      ความเชื่อว่า อรูปพรหมมีแค่ขันธ์ 4 เพราะ ไปแปลว่า "อ" ใน "อรูป" เป็น "ไม่"

      ก็เลยคิดว่า "อรูปพรหม" คือ พรหมที่ไม่มีรูป (มีความเชื่ออื่นๆ ประกอบด้วย)

      คำว่า "อ" นั้น ไม่ได้แปลว่า "ไม่" เสมอไป

      ตัว "อ" ในคำ "อรูป" ไม่ใช่ อุปสรรค (prefix-หมายถึงคำที่ใช้เติมเข้าข้างหน้าคำอื่น แล้วทำให้คำคำนั้นมีความหมายผิดไปจากเดิม)

      คำว่า "อรูป" ในอรูปพรหมเป็นคำอีกคำหนึ่ง

      ลบ
  2. สุดยอดครับ ดร.มนัส ผมสงสัยมานาน ขันธ์5เมื่อเข้าอายตนะนิพพาน เมื่อมีในภพสามแล้วพอเข้านิพพานก็ต้องมีขันธ์5 แต่ต้องละเอียดกว่าขันธ์5ที่อยู่ในภพ3 จริงตามที่หลวงปู่ท่านบอก ขอบคุณครับ

    ตอบลบ
  3. สุดยอดครับ ดร.มนัส ผมสงสัยมานาน ขันธ์5เมื่อเข้าอายตนะนิพพาน เมื่อมีในภพสามแล้วพอเข้านิพพานก็ต้องมีขันธ์5 แต่ต้องละเอียดกว่าขันธ์5ที่อยู่ในภพ3 จริงตามที่หลวงปู่ท่านบอก ขอบคุณครับ

    ตอบลบ