บริจาค

เห็นว่า..บล็อกนี้ดี มีประโยชน์... โปรดสนับสนุนผู้ทำบล็อกได้ที่ พร้อมเพย์ 083-4616989
หรือบัญชี 002-1-70462-8 กสิกรไทย สาขาบางลำภู

จักษุ 5 ประเภท

ข้อความนี้ เป็นข้อความที่ต่อมาจากบทความ “วิปัสสนาของหลวงปู่ชั้ว” หลวงปู่ได้เขียนถึงจักษุของกายละเอียดต่างๆ ไว้อย่างชัดเจน ถูกต้อง แบบพระนักปริยัติไม่สามารถทำได้เลย

เมื่อรู้เรื่องกายซ้อนกันแล้ว ก็ฟังง่ายเข้า เมื่อรู้เรื่องกายทิพย์นี้แล้วก็จะได้ดำเนินต่อไป

กายในกายนับ ตั้งแต่กายมนุษย์หยาบหรือกายเนื้อ ก็มีกายมนุษย์ละเอียด, กายทิพย์หยาบ, กายทิพย์ละเอียด ซึ่งเป็นกายที่สี่นับจากกายมนุษย์

ถึงกายนี้แล้ว ก็จะสามารถทำกัมมัฏฐานได้ ๓๐ ที่ตั้ง ตั้งแต่กสิณ ๑๐, อสุภะ ๑๐, และอนุสสติ ๑๐ ตาของกายนี้ เป็น ทิพยจักษุ สามารถเห็นสวรรค์ นรก เปรต อสุรกาย

แล้วเอากายทิพย์นี้แหละ ไปนรก สวรรค์ เปรต อสุรกาย ได้ทุกแห่ง ไปพูดจาปราศรัยกันกับพวกเหล่านั้นได้ ถามถึงบุรพกรรมทุกข์สุขกันได้ทั้งนั้น แต่ว่ายังไม่เห็นพรหมโลกเพราะละเอียดกว่าสวรรค์มาก

ดวงธรรมในกายทิพย์นี้เรียกว่า ทุติยมรรค พอขยายออกเป็นปฏิภาคใหญ่เท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ก็จะเห็นกายที่ ๕ ขึ้นอีก

ผุดขึ้นที่กลางดวงทุติยมรรค เรียกว่า กายรูปพรหมหยาบ และในกลางกายรูปพรหมหยาบก็มีกายรูปพรหมละเอียด เป็นกายที่ ๖

กายนี้สวยงามประดับประดาอาภรณ์ยิ่งกว่าเทวดา กายนี้ทำกัมมัฏฐานได้ ๔ ที่ตั้ง คือรูปฌาน ๔ ดวงตาของกายนี้เป็น ปัญญาจักษุ สามารถเห็นพรหมโลกทั้ง ๑๖ ชั้น

แล้วเอากายนี้ไปพรหมโลกทั้ง ๑๖ ชั้นได้ ไปไต่ถามทุกข์สุขกับรูปพรหมทั้ง ๑๖ ชั้นได้ แต่ว่ายังไม่เห็นอรูปพรหม ๔ ชั้น เพราะละเอียดกว่ารูปพรหมมาก

ต้องเอาเห็น จำ คิด รู้ เข้าไปหยุดนิ่งอยู่เหนือสะดือสองนิ้วมือในกลางกายรูปพรหมที่ ๖ นี้อีก ดวงธรรมในกายนี้เรียกว่า ตติยมรรค

พอขยายเป็นปฏิภาคใหญ่ออกไปเท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ ก็จะเห็นกายอรูปพรหมหยาบ ในกลางกายอรูปพรหมหยาบก็จะเห็นกายอรูปพรหมละเอียดเป็นกายที่ ๘ กายรูปพรหมนี้สวยงามยิ่งขึ้นไปอีก

กายนี้ทำกัมมัฏฐานได้ ๖ ที่ตั้ง คือ อรูปฌาน ๔ และ อาหาเรปฏิกูลสัญญา กับจตุธาตุววัตถานะ รวมเป็น ๔๐ กัมมัฏฐานด้วยกัน

ดวงตาของกายนี้ เป็น สมันตจักษุ สามารถเห็นอรูปพรหม ๔ ชั้น แล้วเอากายนี้ไปอรูปพรหม ๔ ชั้นได้ ไปไต่ถามทุกข์สุขกันได้ แต่ยังไม่เห็นนิพพาน

ต้องเข้าไปนิ่งอยู่เหนือศูนย์สะดือสองนิ้วมือ ในกลางกายอรูปพรหมละเอียดซึ่งเป็นกายที่ ๘ นี้อีก ดวงธรรมในกายนี้เรียกว่า จตุตถมรรค

พอขยายเป็นปฏิภาคใหญ่เท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ ก็จะเห็นกายอีกกายหนึ่งเป็นกายที่ ๙ กายนี้เรียกว่า “ธรรมกาย

เหมือนพระพุทธรูป เกตุแหลมเหมือนดอกบัวตูม สวยงาม ใสเหมือนแก้ว ดวงตาของกายนี้เรียกว่า พุทธจักษุ เห็นนิพพาน

แล้วเอากายนี้แหละไปนิพพานได้ พระพุทธเจ้าอยู่ที่ไหนก็เห็นหมด ทั้งขาว กลาง ดำ ไปพบปะเห็นทั้งนั้น เรื่องห่มผ้าม้วนขวา ม้วนซ้ายจะไปรู้เรื่องได้หมด

ข้อความข้างต้น สามารถอธิบายได้ทั้งเรื่อง จักษุ 5 และเรื่อง มรรค  

เอาเรื่องจักษุ 5 ที่นักวิชาการอธิบายได้ แต่เป็นมั่วๆ ก่อน ดังนี้

จะเห็นว่า พระพรหมคุณาภรณ์ก็เขียนไปเรื่อยเปื่อย ไม่ได้รู้จริงอะไร  เอาเฉพาะตาของกายละเอียด หลวงปู่ชั้วเขียนไว้ชัดเจนมาก และมีเหตุผลคือ
  • 1) ทิพยจักษุ สามารถเห็นสวรรค์ นรก เปรต อสุรกาย
  • 2) ปัญญาจักษุ สามารถเห็นพรหมโลกทั้ง ๑๖ ชั้น
  • 3) สมันตจักษุ สามารถเห็นอรูปพรหม ๔ ชั้น
  • 4) พุทธจักษุ เห็นนิพพาน

ตาต่างๆ อยู่ตามกาย คือ กายทิพย์ กายรูปพรหม กายอรูปพรหม และกายธรรม และสามารถมองเห็นได้ตามความละเอียดของกาย และของตา  ซึ่งก็สมสมเหตุสมผล

ถ้าท่านผู้ใดทำได้ถึงพระธรรมกายนี้แล้วจึงค่อยเชื่อ หรือจะไม่เชื่อก็ตามใจท่านเถอะ เพราะคนเรามีอยู่สามพวก ขาวพวกหนึ่ง ดำพวกหนึ่ง กลางพวกหนึ่ง

ถ้าพวกขาวก็เชื่อ ถ้าพวกดำก็ไม่เชื่อ ถ้าพวกกลางก็เฉย ๆ ถ้าอยากจะรู้ว่าเป็นพวกขาว กลาง หรือดำ ก็สังเกตดูเอา

ถ้าซื่อตรง นักปราชญ์ ฉลาดใจบุญ ก็ให้รู้ว่าเป็นเครื่องหมายของภาคขาว, ถ้าคดโกง เก่งกาจ ฉลาดใจพาล ก็ให้รู้ว่าเป็นเครื่องหมายของภาคดำ, ถ้าไม่ตรง ไม่โกง นั่นก็เป็นเครื่องหมายของภาคกลาง

ตรงนี้ขอบอกกับท่านผู้อ่านไปเลย เพราะบางท่านสงสัยมานานแล้วว่า ทำไม ผมจึงดูเหมือน “ด่า” คนเอาง่ายๆ เหมือนไม่มีเหตุผล

ผมทำตามคำสอนของหลวงปู่ชั้วนี่แหละ และไปถามคุณลุงด้วย ใครก็ตามที่มาอ่านบทความของผม แล้วโจมตี นั่นมันคือสาวกมาร  จัดการได้เลย

ไม่ว่าผมจะเขียนไปอย่างไร ไม่น่าเชื่อถึงเพียงไหน  คนในภาคขาวด้วยกัน ไม่กล้าลงมือลงแรงออกมาต่อต้าน หรือออกมาด่า

ดังนั้น ขอประกาศไป ณ ที่นี่ว่า การที่ผมด่าคนนั้น ผมมีเกณฑ์ มีกติกา มีมารยาทของผม  ไม่ใช่นึกจะด่าคน ก็ด่ามั่วไปหมด

แต่ในหลายครั้ง ก็เป็นการยั่วกิเลสคนเหมือนกัน

ธรรมกาย นี้ก็มีหยาบละเอียดกว่ากันเข้าไปตามลำดับ กายธรรมกายแรกซึ่งเป็นกายที่ ๙ นั้นเรียกว่า ธรรมกายโคตรภูหยาบ

ในธรรมกายโคตรภูหยาบก็มีธรรมกายโคตรภูละเอียด, ในกายโคตรภูละเอียดก็มีกายพระโสดาปัตติมรรค ในกายพระโสดาปัตติมรรคก็มีกายพระโสดาปัตติผล,

ในกายพระโสดาปัตติผลก็มีกายพระสกิทาคามิมรรค ในกายพระสกิทาคามิมรรคก็มีกายพระสกิทาคามิผล, ในกายพระสกิทาคามิผลก็มีกายพระอนาคามิมรรค

ในกายพระอนาคามิมรรคก็มีกายพระอนาคามิผล, ในกายพระอนาคามิผลก็มีกายพระอรหัตมรรค ในกายพระอรหัตมรรคก็มีกายพระอรหัตผล เป็น ๑๘ กายด้วยกัน

กายตั้งแต่กายมนุษย์ กายทิพย์ กายรูปพรหม กายอรูปพรหม ทั้งหยาบทั้งละเอียดหมดทั้ง ๘ กายนี้เป็นกาย ปัญจขันธ์ เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไม่ใช่ตัวตน บุคคล เราเขา ไม่ใช่ตัวเรา ไม่ใช่ของเรา

แต่กายทั้ง ๑๐ นับตั้งแต่กายธรรมโคตรภูขึ้นไปจนถึงธรรมกายพระโสดา ธรรมกายพระสกิทาคา ธรรมกายพระอนาคา ธรรมกายพระอรหัต ทั้งหยาบทั้งละเอียด นี้เป็น กายธรรมขันธ์ เป็นนิจจัง เป็นสุขัง เป็นอัตตา,

นิจจังเป็นของเที่ยง สุขังเป็นสุข อัตตาเป็นตัวของเรา เป็นกายของเราแท้ไม่ยักเยื้องแปรผัน

กายปัญจขันธ์เป็นกายโลกีย์ กายธรรมขันธ์เป็นกายโลกุตตระ

กายปัญจขันธ์สำหรับทำภูมิสมถะ คือ กัมมัฏฐาน ๔๐ กายโลกุตตระสำหรับทำภูมิวิปัสสนาไม่มีที่สิ้นสุด

ข้อความนี้อธิบายถึงเรื่องพระไตรลักษณ์ว่าอย่างเข้าใจง่ายๆ อ่านแล้วรู้เลย  สาวกพระพม่าเขียนหนังสือกันเป็นหมื่นเล่ม  คนแล้วก็พากันโง่งมงายอยู่อย่างนั้น





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น